วาล์วไฟฟ้า

 วาว์ลเปิด-ปิด ด้วยไฟฟ้า (Solenoid Valve)

 

   

. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .  

 

 

            วาล์วไฟฟ้า หรือ Solenoid Valve คือตัวอุปกรณ์ควบคุมการปล่อยลม โดยใช้ไฟฟ้าส่งกระแสไฟไหลผ่านขดลวดหรือ Coil ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กและดูดเสาเหล็กที่อยู่ภายในแกนวาว์ลให้ยกตัวขึ้น ทำให้ประตูลมเปิดออก และลมจะผ่านเข้าช่องปล่อยออกที่เรียกว่า ORIFICE เพื่อนำไปใช้งานต่อไป วาล์วไฟฟ้ามีหลายรูปแบบมากครับ ในที่นี้จะอธิบายวาล์วที่ใช้กันอยู่ในตลาดบ้านเรานะครับ เรียกว่า Solenoid Valve 2/2 way หรือวาว์ลสองทาง ซึ่งวาล์ว 2/2 ที่ใช้กัน อยู่จะมีอยู่ 2 แบบ

  1. วาล์วแบบเสากดโดยตรง (Direct Valve)

     ข้อดี : ตอบสนองการปล่อยลมได้อย่างรวดเร็ว และปล่อยลมเข้าออกได้อย่างแม่นยำ และอายุการใช้งานยาวนานกว่า

     ข้อควรระวัง (ข้อจำกัด) :  เมื่อมีการเพิ่มแรงดันลม ต้องใช้แรงมากขึ้นในการเปิดปิดวาล์วหรือการยก

                                                          

  

  2. วาล์วแบบผสมแผ่นไดอาแฟรม (Direct Valve diaphragm)

         ข้อดี ของวาล์วแบบแผ่นไดอาแฟรม คือสามารถปล่อยลมได้ในปริมาณมากๆ เพราะมีช่องปล่อยปริมาณลม ORIFICE ที่มีขนาดใหญ่กว่าแบบเสากดโดยตรง (Direct Valve)

         ข้อเสีย ของวาล์วแบบแผ่นไดอาแฟรม คือการตอบสนองที่ช้ากว่าจะมีอาการหน่วง และต้องใช้ลมทิ้งส่วนหนึ่งในการดันแผ่นไดอาแฟรม สังเกตุจะมีเสียงลมทิ้งเวลากด อายุการใช้งานจะสั้นกว่า และเมื่อใช้ไปนานๆแผ่นไดอาแฟรมจะบวมและเปิดปิดประตูลมไม่อยู่

 

  

                                                                           

 

  วิธีดูรายละเอียดจากตัววาล์ว 

 

  การทำงานของวาล์ว

             ในสภาวะปกติ จะมีลมจากทางเข้าวาล์วและสปริงช่วยกดเสาวาล์ว เป็นการปิดวาล์ว เมื่อปล่อยมีกระแสไฟฟ้า 12v ไหลเข้าสายไฟขดลวด (coil) ขดลวดจะแปลงสถานะเป็นสนามแม่เหล็กแรงสูงและยกเสาเปิดลมให้ไหลผ่านไปได้

ในรูปด้านล่างจะเป็นการแสดงการทำงานของวาล์วเปิดลมเข้าออกของถุงลม 

 

 

  ADMIN มีทริคดีๆ มาฝาก

            ความเร็วของลมเข้าหรือลมออกอย่างรวดเร็วนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า วาล์วนั้นกี่หุน แต่ให้ดูที่ ORIFICE หรือ ช่องปล่อยปริมาณลมว่าใหญ่เท่าไหร่ เพื่อนๆ มักเข้าใจกันผิดๆ ว่ารูเกลียวหุนยิ่งใหญ่ยิ่งเร็ว อย่าเข้าใจผิดๆ กันอีกนะครับ .

            และก็ให้ดูเรื่องอื่นๆ ด้วยนะครับไม่ใช่ว่า ORIFICE หรือช่องปล่อยปริมาณลมใหญ่ แต่ใช้สายลมเล็กไปก็เท่านั้นครับ ลมก็จะออกตามขนาดของสายลมอยู่ดี และความยาวของสายลมก็จะมีผลต่อความเร็วในการยกขึ้นลงเช่นกัน และก็อีกจุดที่จะตกม้าตายกันก็ที่ Fitting เข้าถุงลม ถ้าลมมาดีทั้งระบบแล้ว ทางเข้าถุงเล็กก็ช้าอยู่ดีนะครับ ก็ต้องทำการปรับขยายตามกันไปทั้งระบบ ถึงจะได้ความเร็วที่ต้องการนะครับ

ตัวอย่างการต่อวาล์วเดี่ยวให้เป็น 2 / 4 และ 8 วาล์ว

9.   ปัญหาที่เคยเจอ และที่สามารถเกิดขึ้นได้กับวาล์ว และวิธีการแก้ไข

 (9.1) วาล์วกดไม่ติด วาล์วค้าง วาล์วตัน ปัจจัยหลักๆที่จะทำให้เกิดอาการเหล่านี้มีอยู่ 3 กรณีคือ 

1. เรื่องของความสะอาด ในระบบลมนั้นมีความสำคัญกับระบบลมและวาล์วมากๆ สาเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากสิ่งสกปรก ที่ไปติดตามช่องเสาวาล์ว ช่องปล่อยลม ORIFICE ของวาล์ว ตามฟิตติ้ง หรือตามสายลม สิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นมักเกิดขึ้นจาก

  • เศษยางหรือสารเคลือบที่มากับถุงลม ซึ่งถุงลมยิ่งใช้ไปนานๆ ในขณะที่มีการหยึดหยุ่นตัวของถุงตลอดเวลาอาจจะมีเศษยางหรือสารเคลือบจากด้านในถุงลม หลุมเข้ามาติดที่ระบบวาล์วได้

  • เศษขี้กลึงหรือขี้เหล็ก ขณะที่ตอนติดตั้งถุงลม เพราะการเจาะเปิดฝาถุงลมจะมีเศษขี้กลึงติดอยู่ด้านในถุงลมไม่มากก็น้อย ถ้าทำความสะอาดไม่หมด อาจจะหลุดเข้ามาติดที่ตัววาล์วได้เช่นเดียวกัน

  • เศษกาวอุตสาหกรรมที่ติดฟิตติ้ง หรือผ้าเทฟกันลมรั่ว

  • สนิมจากถังเหล็ก และฝาถุงลม เคสนี้เจอบ่อยที่สุด สนิมจะไปทำให้เสาวาล์วค้าง หรือเสาไม่ยกเลยทีเดียว




2. กระแสไฟ มี 2 กรณีคือ ไฟไม่พอ กับ ไฟเกิน

  • ไฟไม่พอ จะเป็นการถูกดึงกระแสไฟ ทำให้กำลังไฟเข้าวาล์วไฟพอจึงไม่มีแรงยก เพราะการต่อระบบไฟส่วนใหญ่จะมีการต่อพวงระบบไฟฟ้ากับปั้มลมกับวาล์วเป็นชุดเดียวกัน เวลาปั้มลมทำงานมันจะดึงกระแสไปจนไม่สามารถกดวาล์วได้

  • ไฟเกิน / ไฟกระชาก คือ สภาวะไฟเกินแบบเฉียบพลันในระบบไฟฟ้า เพราะระบบไฟจะต่อพ่วงกันระหว่างปั๊มลมกับวาล์ว หากปั๊มลมเกิดการใช้ไฟมากๆจนโอเวอร์โหลด แรงดันไฟฟ้าส่วนหนึ่งที่เหลืออยู่ในปั๊ม จะไหลกลับเข้าระบบไฟ ส่งผลกระทบถึงวาล์วได้ การที่เกิดภาวะไฟเกินหรือไฟกระชาก จะทำให้ตัววาล์วช็อตได้ อาการก็คือวาล์วจะไม่ทำงานเลย กดเท่าไรเสาวาล์วก็ไม่ยก การตรวจสอบเบื้องต้นสามารถใช้เครื่องวัดกระแสไฟวัดที่ตัววาล์วว่ามีกระแสไฟผ่านหรือไม่
    TIPS  : ต้องให้เฮียมกสอนใช้เครื่องมือวัดกระแสไฟค่ะ 

3. การใช้วาล์วเกินกว่าสเปคการใช้งาน หรือใช้แรงดันลมเยอะเกินไปนั่นเอง ซึ่งสาเหตุนี้ก็เจอบ่อยมาก วาล์วลมไม่ใช่ว่าใช้แรงดันลมเท่าไหร่มันจะเปิดตลอด วาล์วทุกตัวจะมีรายละเอียดการใช้อยู่ที่วาล์ว ซึ่งส่วนใหญ่จะทนแรงดันไม่สูงมาก ตามที่เคยมีกล่าวถึงไปแล้ว มาสังเกตุในรูปจะเขียนว่า MAX 10 kg/cm2 หมายความว่า วาล์วจะเปิดใช้งานได้ถ้าแรงดันลมไม่เกิน 10 kg/cm2 หรือประมาณ 147 PSI. อันนี้ค่า MAX ซึ่งไม่ได้หมายความว่าจะให้ใช้เต็มตลอดเวลา ใช้งานจริงๆ ไม่ควรเกิน 120 PSI. 

 

อยากให้รถขึ้นลงเร็วขึ้นอยู่กับวาล์วมั้ย จริงๆการขึ้นลงช้าเร็วของรถที่ติดตั้งถุงลมนั่นจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ทั้งระบบที่ต้องสัมพันธ์กันให้ลมมีทางเดินลมที่สะดวก ใกล้ จึงทำให้รถขึ้นเร็วลงเร็ว แต่วาล์วก็เป็นองค์ประกอบสำคัญตัวนึง หากคนที่ต้องการให้รถขึ้นลงเร็ว เน้นกดโชว์ ก็อยากแนะนำให้ใช้วาล์วที่มีรู orifice ใหญ่ ประเภทแบบวาล์วไดอะแฟรม และก็ควรเลือกการใช้สายลม ปั๊มลม ถังลม ที่สัมพันธ์กันด้วยนั่นเอง




Visitors: 32,076